สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย
(TSPCA) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและมอบวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าและเวชภัณฑ์สุนัขจรจัด
วัดโพธิโสภาราม จ.ราชบุรี
******************************************************************************************************************************
กรมศุลกากร
ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และบริษัท
ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ตรวจยึดงาช้าง จำนวน 4 กิ่ง 39 ท่อน น้ำหนักกว่า 116
กิโลกรัม และเกล็ดลิ่น จำนวน 15 กิโลกรัม ลักลอบนำเข้าจาก เมืองกินชาซา
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก มูลค่า 11,750,000 บาท
ตามที่
นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร
มีนโยบายด้านการควบคุมทางศุลกากรและปกป้องสังคมอย่างเคร่งครัด
จึงให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรสำนักสืบสวนและปราบปรามประจำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและ
ท่าอากาศยานนานาชาติ
เข้มงวดเป็นพิเศษในการสกัดกั้นป้องกันและปราบปรามขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่าและซากสัตว์ป่าสงวนข้ามชาติ
ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือผ่านประเทศไทยทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและ
ท่าอากาศยานนานาชาติ
ซึ่งมีแนวโน้มลักลอบสูงขึ้น ประกอบกับการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการงาช้าง
แห่งประเทศไทย จึงได้สั่งการให้นายชัยยุทธ คำคุณ รองอธิบดี
รักษาราชการที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการควบคุมทางศุลกากร นายสรศักดิ์ มีนะโตรี
รองอธิบดี นายวรวุฒิ วิบูลย์ศิริชัย ผู้อำนวยการสำนักสืบสวนและปราบปราม
นายพันธ์ทอง
ลอยกุลนันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
นายพร้อมชาย
สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้เชี่ยวชาญด้านการสืบสวนและปราบปราม นายเดชา วิชัยดิษฐ
ผู้อำนวยการ
ส่วนสืบสวนปราบปราม
3
และนายเชาวน์ ตะกรุดเงิน ผู้อำนวยการส่วนควบคุมทางศุลกากร
ดำเนินการวางแผนจับกุมกลุ่มขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่าและซากสัตว์ป่าสงวนข้ามชาติ
ด้วยการบูรณาการกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายตามแผนปฏิบัติการงาช้างแห่งประเทศไทย
นั้น
วันนี้
(9 พฤศจิกายน 2560) เวลา 15.30 น. นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร
พล.ต.อ.
เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน รอง ผบ.ตร. นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี
รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
และนายกิตติพงศ์
กิตติขจร รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สายปฏิบัติการ 1 ร่วมกันแถลงข่าวการตรวจยึดงาช้าง
จำนวน 4 กิ่ง 39 ท่อน น้ำหนัก 116 กิโลกรัม และเกล็ดลิ่น จำนวน 15 กิโลกรัม ดังนี้
จากการวิเคราะห์ข้อมูลของเจ้าหน้าที่ศุลกากรพบว่า
ขบวนการค้างาช้างจะลักลอบนำงาช้างเข้ามาในประเทศไทยในเที่ยวบินที่มาจากหรือผ่านประเทศในทวีปแอฟริกา
ซึ่งเป็นเที่ยวบินที่มีความเสี่ยงสูง
ที่เครือข่ายลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์
โดยใช้วิธีการสำแดงชนิดสินค้าที่เห็นได้ว่าเป็นสินค้าประจำถิ่นในประเทศแถบแอฟริกา
เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่
เจ้าหน้าที่จึงเฝ้าระวังสินค้าที่มีต้นทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยง โดยเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2560
เจ้าหน้าที่ศุลกากรสำนักสืบสวนและปราบปราม และสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ได้ตรวจสอบข้อมูลบัญชีสินค้าทางอากาศยาน (Manifest) โดยพบข้อมูลการนำเข้าที่มีความเสี่ยงในการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์
นำเข้ามาทางสายการบินเตอกิซแอร์ไลน์ (Turkish Airlines) เที่ยวบินที่ TK064 ขนส่งจากต้นทางท่าอากาศยานกินชาซา (N'Djili International Airport or
Kinshasa International Airport) เมืองกินชาซา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
ปลายทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย สำแดงชนิดสินค้าเป็น Fish maws หรือกระเพาะปลา จำนวน 3 หีบห่อ น้ำหนักรวมประมาณ 120 กิโลกรัม เจ้าหน้าที่จึงได้อายัดสินค้าและตรวจสอบด้วยเครื่องเอกซเรย์
ผลปรากฏพบภาพวัตถุคล้ายงาช้าง
เจ้าหน้าที่จึงรอผู้รับตราส่งมาปฏิบัติพิธีการทางศุลกากร เพื่อเตรียมทำการจับกุม
แต่ก็ไม่มีผู้ใดมาแจ้งขอดำเนินพิธีการทางศุลกากรแต่อย่างใด จากการสืบสวนพบว่า การลักลอบนำเข้าในครั้งนี้
มีความเชื่อมโยงกับการลักลอบนำเข้างาช้าง จำนวน 1 กิ่ง 28 ท่อน ที่ถูกตรวจยึด
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2560 และเป็นการใช้ชื่อ-ที่อยู่ปลอม
เพื่อปกปิดอำพรางไม่ให้เจ้าหน้าที่ตรวจพบ
ดังนั้น เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2560 เจ้าหน้าที่ศุลกากรจึงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดตรวจสินค้า ซึ่งพบงาช้างจำนวน 4 กิ่ง 39 ท่อน น้ำหนักรวม 116 กิโลกรัม และเกล็ดลิ่น 15 กิโลกรัม
ซุกซ่อนมาในกล่องกระดาษสีน้ำตาลและห่อหุ้มด้วยพลาสติกใสอีกชั้นหนึ่ง
กรณีดังกล่าวเป็นการลักลอบนำเข้างาช้างซึ่งเป็นสัตว์ป่า ซากของสัตว์ป่าหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
หรือนำผ่านซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน
ซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว
โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งการกระทำ**********************************************************************************************************************
เมื่อวันที่
2 พฤศจิกายน 2560 เวลา 15.00 น. ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า
ค่ายสิรินธร อ.ยะรัง จ.ปัตตานี พันเอกธนาวีร์ สุวรรณรัตน์
รองโฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เปิดเผยว่าจากกรณีเว็บไซต์
ผู้จัดการออนไลน์ และเฟสบุคเพจ “God Of War V.3” เผยแพร่การหักเบี้ยเลี้ยงของทหารที่งมาปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดน
จากกรณีนี้
ที่เฟซบุ๊ค ใช้ชื่อเพจว่า“God
Of War V.3” ได้เปิดแพร่ภาพและข้อความ
อ้างว่านำมาจาก เฟซบุ๊ค ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ทหาร ซึ่งเป็นพลทหาร
ที่ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยมีการนำเสนอข้อความที่เป็นประเด็นบิดเบือนข้อความเท็จ โดยอ้างว่าทางส่วนราชการได้หักเงินเดือนจนเหลือแค่เดือนละ
๔๐๐ บาท ซึ่งไม่เพียงพอที่ส่งให้ครอบครัว
พร้อมยังตำหนิผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานว่าหักเงินเกินและจ่ายเงินไม่ตรงเวลา
ซึ่งเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ ได้นำภาพและข้อความของเฟซบุ๊ค ใช้ชื่อเพจว่า“God Of War V.3” ไปเผยแพร่ ซึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง
จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่าไม่พบที่มาของเพจส่วนตัวของพลทหารที่กล่าวอ้าง
ขอชี้แจ้งเรื่องสิทธิพลทหาร
ดังนี้ การปฏิบัติงาน ณ ที่ ตั้งปกติ ได้รับเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง และ
ค่าครองชีพชั่วคราว รวมเป็นเงิน 10,000 บาท การปฏิบัติงานราชการสนาม ได้รับเงินเดือน
เบี้ยเลี้ยง ค่าครองชีพชั่วคราว ค่าเสี่ยงภัย และค่าเสบียง รวมเป็นเงิน 15,910 บาท
การหักค่าใช้จ่าย
ค่าประกอบเลี้ยง
หักเท่ากันตามระเบียบเพื่อประกอบเลี้ยงให้เป็นส่วนรวม
เงินฝากส่วนตัวทหารขึ้นกับความสมัครใจของแต่ละคนโดยเปิดบัญชีธนาคารส่วนตัว (ถอนคืนเมื่อปลดประจำการ)
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
เช่น ร้านค้าสวัสดิการซึ่งหักไม่เท่ากันขึ้นกับแต่ละบุคคลจะจ่ายมากน้อยแค่ไหน
ตามที่สังคมออนไลน์เผยแพร่การหักเบี้ยเลี้ยงของทหารหารที่ลงมาปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดนภาคใต้นั้น
แค่เป็นการหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวปกติของกำลังพลจากเบี้ยเลี้ยงราชการสนาม
เนื่องด้วยห้วงนี้เป็นต้นปีงบประมาณ ปี 2561
ระหว่างที่รอการอนุมัติสั่งจ่ายงบประมาณ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4
ส่วนหน้า ได้ทดลองจ่ายเฉพาะเงินค่าเบี้ยเลี้ยงสนามให้กับกำลังพลไปก่อน
ส่วนเงินอื่นๆ เมื่อได้รับอนุมัติสั่งจ่ายแล้ว หน่วยจะดำเนินการเบิกจ่ายให้แก่กำลังพลตามสิทธิที่ได้รับตามห้วงเวลาที่กำหนด
ผู้บังคับบัญชาทุกระดับได้ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิกำลังพลมาโดยตลอด
จากกรณีดังกล่าว
พลโทปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 4 และผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4
ได้สั่งการให้ทุกหน่วยดำเนินการ ดังนี้
ตรวจสอบการหักค่าใช้จ่ายและจ่ายเงินทหารอย่างใกล้ชิดสร้างความเข้าใจเรื่องสิทธิกำลังพลอย่างต่อเนื่อง
กวดขันวินัยเรื่องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่อาจสร้างความเสียหายกับภาพลักษณ์องค์กร
ขอให้บริโภคข้อมูลข่าวสารด้วยความระมัดระวังหากมีข้อสงสัยให้สอบถามจากหน่วยทหารในพื้นที่ใกล้เคียงหรือสอบถามหมายเลข
1341 ตลอด 24 ชั่วโมง
****************************************************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น